สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)

สมุดสามมิติ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

การพัฒนาพื้นที่ในขอบเขตของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) พื้นที่ในขอบเขตของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) มีศักยภาพการพัฒนาที่สำคัญในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  1. ด้านเศรษฐกิจ
    • ศูนย์กลางการท่องเที่ยว (Tourism Hub)
      จังหวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยนับว่ามีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง อันเนื่องมาจากความได้เปรียบทางด้านภูมิประเทศที่สวยงาม ภูมิอากาศเย็นสบาย มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย มีประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ รวมถึงมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน จึงทำให้ภาคเหนือตอนบนเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ
    • MICE City (MICE: Meeting Incentive Convention and Exhibition)
      MICE เป็นคำย่อมาจาก MEETING (การประชุม) INCENTIVE (การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล) CONFERENCE (การประชุมนานาชาติ) EXHIBITION (การจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ) ซึ่งหมายถึงธุรกิจกลุ่มหนึ่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลการประชุมนานาชาติและการแสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติ
    • ศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Health Hub)
      Medical Tourism หรือการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เป็นแนวโน้มของการบริการที่ผนวกรวมเอาการท่องเที่ยวให้เป็นส่วนเพิ่มเติมกับผู้ที่เดินทางเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ ซึ่ง Medical Tourism หมายถึง การท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการรับบริการด้านสุขภาพ/การรักษาพยาบาล ซึ่งอาจจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการตรวจเช็คสุขภาพ และได้รับคุณภาพบริการที่ดีกว่าประเทศของตนเอง
    • การเป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค (Aviation Hub)
      จากนโยบายประกาศให้สนามบินนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค (Regional Aviation Hub) ตั้งแต่ปี 2544 ได้มีการปรับโครงสร้างขนาดใหญ่โดยงบประมาณกว่า 2,500 ล้านบาท พร้อมกับโครงการขยายรันเวย์เพื่อให้รองรับเครื่องบินโบอิ้ง 747-400 ได้ ทำให้ศักยภาพสูงสุดของสนามบินจังหวัดเชียงใหม่ในโครงสร้างพื้นฐานเต็มระบบสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 8 ล้านคนต่อปี
  2. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีระบบนิเวศที่หลากหลาย แหล่งธรรมชาติที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอีกมากมาย กล่าวคือ ด้านทรัพยากรป่าไม้ มีป่าไม้หลายประเภท ประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมป่าสนเขา และป่าแดง เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าธรรมชาติ สวนป่า และป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ โดยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 12,222,395.87 ไร่ (พื้นที่ป่าตามกฎกระทรวง) คิดเป็นร้อยละ 69.93 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด
  3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง
    ในทางภูมิศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่เชื่อมโยงส่วนกลางของประเทศไทยกับอนุภูมิภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น GMS, BIMSTEC และ AEC ซึ่งนั่นหมายถึง ลูกค้า ทรัพยากร และโอกาสทางการเศรษฐกิจที่ท้าทายภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ถือเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้าการท่องเที่ยว และความกินดีอยู่ดีของผู้คน โดยกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนซึ่งได้แก่ กลุ่มภาคเหนือตอนบน 1 อันประกอบด้วย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง และ กลุ่มภาคเหนือตอนบน 2 อันประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน และจังหวัดแพร่
  4. แนวโน้มการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว
    ในปัจจุบันการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้เริ่มเปลี่ยนจากการท่องเที่ยวแบบมวลชน (Mass Tourism) มาเป็นการท่องเที่ยวที่เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างรายได้ที่เกิดจากจำนวนนักท่องเที่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลาย การบริหารจัดการแบบบูรณการ การพัฒนารูปแบบของกิจกรรม และการสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว โดยแนวโน้มด้านการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ


  • สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
    33 หมู่ที่ 12 ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230