สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)

การยกระดับและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เส้นทาง หางดง – สะเมิง

visibility 49,733

สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ร่วมกับทุกภาคส่วน เปิดโครงการยกระดับและส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เส้นทางหางดง – สะเมิง นำร่องยกระดับและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีความเชื่อมโยงกันในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน และพะเยา

: การท่องเที่ยวบนเส้นทาง หางดง – สะเมิง ถนนหมายเลข 1269 ระยะทาง 70 กิโลเมตร ตลอดระยะทางมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายหลากหลายรูปแบบ
เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร วัด แหล่งนันทนาการ การผจญภัย และสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ถนนเส้นทางนี้ นับเป็นเส้นทางหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเริ่มต้นเส้นทางในเขตอำเภอหางดง มีสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเปรียบเสมือนหน้าด่าน สู่การท่องเที่ยวของเส้นทางนี้ คือ
– ชุมชนเหมืองกุง เป็นชุมชนการส่งเสริมด้านหัตถกรรม
– บ้านเหมืองกุงอยู่ในเขตตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านที่มีการทำเครื่องปั้นดินเผากันแทบทุกหลังคาเรือน จนสามารถพูดได้เลยว่าเป็นหมู่บ้านแห่งภูมิปัญญาไทยโดยแท้จริง แน่นอนว่าชาวบ้านที่นี่ยึดอาชีพการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพหลัก ถ้าเดินตามถนนคอนกรีตเล็กๆ ในหมู่บ้านจะพบเห็นหม้อดินเผาหลายชนิดหลายขนาด ทั้งแจกัน กระถางและอื่นๆ ตากเรียงรายอยู่กลางลานบ้าน นอกจากนั้นใต้ถุนบ้านยังมีผู้เฒ่าผู้แก่ต่างช่วยกันตกแต่งหม้อน้ำดินเผาอย่างขะมักเขม้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ หม้อน้ำที่มีปากแคบ ตรงกลางปล่อง ก้นสอบและมีฝาปิด บริเวณไหล่หม้อน้ำจะมีการแกะลวดลายอย่างสวยงาม

– วัดต้นแบบศิลปกรรมล้านนาดั้งเดิมภายในวัดนี้ยังจัดว่าเป็นต้นแบบที่สมบูรณ์และมีคุณค่ามาก สมาคมสถาปนิกสยามประกาศให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่นเมื่อปี พ.ศ. 2532 วัดต้นเกว๋น เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงแบบแผนทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมล้านนา ที่งดงามและทรงคุณค่า แม้จะได้รับการบูรณะซ่อมแซม แต่ยังคงไว้ซึ่งศิลปะแบบดั้งเดิม วิหารวัดต้นเกว๋นต้นแบบหอคำหลวงที่งานพืชสวนโลก

– เส้นทางนี้ยังเป็นเส้นทางที่มีการส่งเสริมด้านการเกษตรและอาหาร โดยมีการท่องเที่ยวในเชิงวิถีเกษตรมากมาย มีทั้ง สถานที่ท่องเที่ยววิถีเกษตรบ้านแม่ขนิลเหมือ หมู่ที่ 6 , ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง และสวนกุหลาบหลวงโครงการหลวงห้วยผักไผ่

– ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบการที่นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีด้านการเกษตร ร่วมปลูกพืชผัก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว ตลอดจนการนำมาปรุงอาหาร ตามแบบเกษตรอินทรีย์ นักท่องเที่ยวจะสามารถชิมลองอาหาร และซื้อสินค้าทางด้านการเกษตรของชุมชนและโครงการหลวง

– ในเส้นทางนี้ยังมีกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทรัพยากรธรรมชาติ โดยนักท่องเที่ยวสามารถนั่งม้าหรือนั่งรถม้าชื่นชมวิถีชีวิต ธรรมชาติ ประกอบด้วยทุ่งนาเขียวชอุ่มและภูเขาดอยสุเทพ ของชุมชนบ้านปง

เมื่อนักท่องเที่ยวย่านเข้าสู่อำเภอสะเมิง โดยจะสัมผัสจุดท่องเที่ยวที่สวยงามของขุนเขา กาแฟเลิศรส สตอเบอรี่หวานช่ำ เมืองแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่สอดประสานกับชุมชนใหม่และเก่า ท่องเที่ยว Unseen ที่รอการค้นหา
– การผจญภัยในรูปแบบของ Adventure รถออฟโรด ตลอดระยะทางมีพืชพรรณไม้ เมื่อถึงม่อนอังเกตุ นักท่องเที่ยวจะสัมผัสทะเลหมอก และวิวสวยแบบ 360 องศา ของ 3 อำเภอ อำเภอสะเมิง อำเภอแม่ริม และอำเภอปาย จุดชมวิวดังกล่าวมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,840 เมตร มีจุดกางเต็นท์เพียงทำเลเดียวให้คุณเลือก บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำ (ดงสน) อยู่ก่อนถึงยอดดอยม่อนอังเกตุเพียง 2 กิโลเมตร แม้จะมีลานกางเต็นท์เพียงแห่งเดียวให้เลือกพัก แต่ความงดงามก็ไม่แพ้ลานกางเต็นท์แห่งอื่นของประเทศไทย ด้วยความร่มรื่นสมบูรณ์ของป่าสนอายุหลายสิบปี บรรยากาศของที่นี่จึงน่ากางเต็นท์พักแรมที่สุด คุณสามารถหามุมสงบเป็นส่วนตัวได้ตามใจชอบ สอบถามข้อมูลได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลยั้งเมิน

– ในเส้นทางนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยว Unseen อีกหนึ่งแห่งของที่นี้ คือ ถ้ำหลวงแม่สาบ เป็นขนาดกลางมีสองชั้น ชั้นบนเป็นปล่องโพรงทะลุมองเห็นท้องฟ้า คล้ายปล่องภูเขาไฟ ชั้นล่างลึกประมาณ 150 เมตร ภายในถ้ำมีหลายคูหา มีหินงอก หินย้อย และบรรลังก์หินที่สวยงาม อยู่ห่างที่ว่าการอำเภอสะเมิงเพียง 2 กิโลเมตร

หลังจากการท่องเที่ยวทั่วอำเภอสะเมิง ไปกับพิงคนคร อย่าลืมซื้อของฝากมีชื่อของอำเภอสะเมิง ณ ศูนย์ OTOP มีสินค้าหลากหลายรูป เช่น สตอเบอรี่ ผลิตภัณฑ์จากสตอเบอรี่ น้ำพริกตาแดงและจิ้นส้มของชุมชนบ้านโป่งกวาว เก๊กฮวยอบแห้งและหญ้าหวาน บ้านอมลอง และสินค้าของชุมชนอีกมากมาย
อืม!!!
ก่อนจากอำเภอสะเมิงนี้ไป การเดินทางในเส้นทางระหว่างอำเภอหางดง – สะเมิง ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่มากมาย ทั้งโครงการหลวง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จุดชมวิวอีกมาก ที่รอการต้อนรับนักท่องเที่ยว

เที่ยวสะเมิงสุขใจไปกับ พิงคนคร 



  • สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
    33 หมู่ที่ 12 ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230